บทความ PIC :: ใช้งานชุด ICD กับ CP-PIC V3 :: โดย ศุภชัย บุศราทิจ (raek@etteam.com)

 

            เมื่อเดือนที่แล้วผมได้รับบอร์ดทดลองสำหรับเขียนโปรแกรมกับ PIC พร้อมทั้งได้รับชุดพัฒนาผ่านระบบ ICD2 ของ PIC จากทาง ETT
        ประกอบกับผมเองมีบอร์ด CP-PIC V3 รุ่นที่ต้องใช้ Adapter 16VDC ในการโปรแกรมชิพ เลยอยากนำบอร์ดรุ่นนี้มาใช้กับชุดพัฒนา ICD2
        เลยเป็นที่มาของบทความนี้
            แต่เดิมคิดว่าไม่น่าจะมีสาระอะไรจนต้องเขียนเป็นบทความ แต่พอลองเอามาคิดไตร่ตรองดูก็พบว่า กว่าผมจะประกอบชิ้นส่วนทั้งหมดเข้า
        ด้วยกันแล้วโปรแกรมชิพได้ก็งงอยู่หลายชั่วโมง (ฮ่ะๆๆๆ ไม่อยากอวดความสามารถของตัวเองเลย) เอาเป็นว่า คงพอเป็นแนวทางได้ว่า
        ทำไมต้องซื้อชุดโปรแกรม และจะต่อเข้าด้วยกันได้ยังไงล่ะกันเนอะ


            อุปกรณ์ที่ผมใช้ประกอบบทความมีดังนี้ครับ
                1. CP-PIC V3 [http://www.etteam.com/product/06A03.html]
                2. ET-PGM USB v1 [http://www.etteam.com/product/pic/et-pic-isp-usb-v1.html]
                3. ET-ADAPTER PIC USB-40A [http://www.etteam.com/product/pic/et-pic-isp-usb-v1.html]

            ขั้นตอนการประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกันเป็นดังนี้ครับ

  <-- นี่ไง CP-PIC V3 รุ่นที่ไม่ใช่โปรแกรมแบบ ICD2  
 
อันนี้ก็ ET-PGM USB v1 -->
 
 



<-- อันนี้ก็ ET-ADAPTER PIC USB-40A
 
 

 

เอาล่ะประกอบร่างชั้นที่ 1 คือ เอา ET-ADAPTER USB-40A -->
เสียบบน Socket 40 ขาบนบอร์ด CP-PIC V3 ใส่ให้ถูกด้าน -->
เหมือนกับรู้ด้วยนะครับ -->

 
 
<-- สองตำแหน่งนี้แหละที่ต้องคอยระวังให้ดี เพราะว่าต้องเลื่อนเป็น
<-- PROG และกด Switch เพื่อสั่งเขียนโปรแกรมลงชิพ และ
<-- เลื่อนเป็น RUN และปล่อย Switch เพื่อสั่งให้รัน
 
 

 

ประกอบสายเข้ากับแจ็กบนบอร์ด ET-ADAPTER USB-40A -->


 
 

 

<-- ปลายอีกด้านหนึ่งของสายก็เสียบเข้ากับบอร์ด
<-- ET-PGM PIC USB V1

 
 

 

เอาล่ะอย่าลืมดูสภาพสวิทช์แบบเลื่อนและกดให้อยู่แบบในภาพ -->
เพื่่อเป็นการสั่งให้ PROG ชิพนะครับ -->

 
 

 

<-- เสียบแจ็ค USB เข้ากับบอร์ด ET-PGM USB PIC V1
<-- ส่วนอีกด้านก็เสียบเข้ากับ USB ของคอมพิวเตอร์

 
     
 

เอาล่ะที่เหลือก็สั่งเขียนชิพผ่านจากเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เลย ข้อดีของระบบนี้คือเขียนชิพได้เร็วมาก และใช้ adapter 9-12VDC ธรรมดา
ช่วยลดเวลาในการพัฒนาและไม่ต้องใช้ adapter 16VDC ที่ร้อนมากๆ ทำลายสุขภาพ ไอซี 7805 ที่แสนน่ารัก

จบบทความเท่านี้ครับผม

 
       


 
:: ผลิตภัณฑ์อื่นๆ ของเรา ::
:: Training ::  Robotics  :: PSoC :: MCS-51 :: AVR :: 68HC :: BASIC Stamp :: PIC ::
::
Z8/Z80/Z180 :: CPLD ::
ARM :: MSP430 :: CPU/EPROM
:: PC Card/Flash :: Interface Card ::
::
USB/RS232/422/485 :: ET-Test/Project board ::
อุปกรณ์ต่อทดลอง/Connector ::
::
Counter/Clock :: Display/LCD :: Keyboard/Adapter/
หนังสือ ::
::
Barcode/Magnetic/Universal Programmer ::
ไอซีน่าสน ::

©2000-2007 ETT Co.,Ltd, ปรับปรุงเมื่อ 1 ธันวาคม 2550 : Power by suntechnet.com


บริษัทอีทีที จำกัด : ETT Co.,Ltd.

1112/96-98 ถ.สุขุมวิท แขวงพระโขนง เขตคลองเตย กรุงเทพฯ 10110
1112-96-98 Sukhumvit Rd., Phrakanong, Bangkok, Thailand 10110
Tel. (66) 02-7121120 Fax. (66) 02-3917216 e-mail sale@etteam.com