สวัสดีปีใหม่ พ.ศ. ๒๕๔๙ ครับ
ปีใหม่ปีนี้เป็นปีที่ผมเศร้าที่สุดเป็นครั้งที่สองรองจากครั้งเมื่อสิบกว่าปีก่อนที่คุณย่า
คือ นางจำเนียร บุศราทิจ ที่ได้เลี้ยงดูผมมาตั้งแต่แรกเกิดจนอายุ 14 ปี
ได้เสียชีวิตและจากครั้งนั้นได้ทำให้ผมได้เรียนรู้อะไรอีกมากมายในสิบกว่าปีต่อจากนั้นและวันที่
๑ มกราคม ๒๕๔๙ เวลา ๑๕.๓๐ น. ผมได้สูญเสียก๋ง คือ นายท่องเตี่ย แซ่ตั้ง
ผู้ที่เลี้ยงดูผมมาจนถึงวันที่ย่าของผมเสีย
ที่ผมสะเทือนใจมากเนื่องจากท่านเป็นผู้สนับสนุนการเรียนรู้ของผมมาตลอด
ไม่ว่าผมจะรื้อกล้องถ่ายรูปสุดเก๋ของท่าน
(ตอนนั้นผมยังเด็กและจำไม่ได้แล้วว่าเมื่อไร) ท่านก็ไม่โกรธอะไรผม
ทุกครั้งที่ท่านต้องคุมการขนส่งรังนกจากจังหวัดชุมพรไปส่งที่ กทม.
ท่านก็ไม่ลืมที่จะซื้อของฝากมาให้ผมเป็นประจำ
ไม่ว่าจะเป็นของเล่นด้านวิทยาศาสตร์ ตัวต่อเลโก หรือมัลติมิเตอร์
ท่านก็เป็นผู้ซื้อมาให้ผม และที่สำคัญก็คือ
ท่านนี่แหละที่ซื้อเครื่องเล่นเกมแฟมิคอมให้ผม
แต่การซื้อครั้งนั้นเป็นครั้งแรกที่ผมได้รู้จักคำว่ามันดีอย่างไร?
เพราะท่านถามผมว่าไอ้เครื่องนี้มันดีอย่างไร เมื่อเทียบกับเครื่องคอมพิวเตอร์
ทั้งนี้ด้วยความเป็นเด็กผมก็บอกแค่ว่ามันเหมือนกัน แต่ใจจริงคือยากเล่นเกม
แต่หลังจากที่ผมมาพิจารณาถึงเรื่องนี้ผมก็รู้สึกว่าท่านเข้าใจผมอย่างมาก
เนื่องจากในช่วงนั้นผมซื้อหนังสือคอมพิวเตอร์มาอ่านแล้วตัดแป้นพิมพ์จากหนังสือมาวาดขยายให้ใหญ่ขึ้นแล้วนั่งพิมพ์เหมือนกับว่าได้เล่นมันอยู่
แต่ว่าราคาของมันสูงมากไม่ว่าอย่างไรท่านคงไม่กล้าซื้อให้เด็กอายุ 13
ปีเล่นแน่ๆ (หรือว่าไม่มีเงินหว่า ฮ่ะๆ)
ทั้งชีวิตผมออกฤทธิ์ออกเดชกับท่านเป็นอย่างมาก
ผมจำไม่ค่อยได้ว่าได้ทำอะไรให้ท่านชื่นใจบ้าง เพราะหลังจากที่ผมไม่ได้อยู่กับ
ท่านผมก็ทำตัวไม่ได้เรื่อง เรียนก็แย่ ... เฮ้อ ...
แต่ถ้าไม่มีคุณย่าและก๋งผมคงไม่เป็นอย่างทุกวันนี้
เพราะพื้นความรู้ผมที่ถูกปลูกฝังนั้นมาจากสองท่านนี้แหละ
ผมยังจำได้ว่าทุกวันที่เรียนเสร็จผมต้องกลับมากินอาหารที่ก๋งทำให้ผมทาน
และผมก็นั่งเป็นเพื่อนท่านดื่มสุราเสมอ
ผมมักได้ยินคำสั่งสอนมากมายที่ท่านเก็บกดหรือเจ็บใจ
ทั้งนี่เพราะท่านเป็นคนจีนแท้ๆที่เดินทางจากแผ่นดินเกิดมาอยู่เมืองไทย
ท่านจึงประสบอะไรหลายอย่างที่ไม่ราบรื่นนัก ...
และสุดท้ายนี้ขอให้ความดีที่ผมได้กระทำส่งถึงก๋งด้วยเถอะครับ
เมื่อก่อนวันปีใหม่ทางคุณกอบกิจ เติมผาติ ได้ส่งบอร์ด ARM7
รุ่นใหม่ที่ใช้กับชิพประมวลผล LPT-2138 ของ Phillips กับบอร์ด Starter Kit
มาให้ผมทดลองใช้งานและเขียนบทความเกี่ยวกับเรื่องโพรเซสเวอร์ตัวนี้
สิ่งที่แรกที่ผมได้กระทำคือเข้าอินเทอร์เน็ตแล้วไปที่
www.google.com หลังจากนั้นก็เริ่มสืบค้นคำว่า ARM7
ผมก็ได้รับคำตอบออกมามากมาย ไม่ว่าจะเป็นหัวข้อเรื่องการนำ ARM7 ไปใช้กับ
Nintendo DreamCast, PocketPC, Game Boy Advanced, Embedded Linux
หรืออีกหลายๆด้านที่ผมไม่คิดว่า ARM7 ทำได้ (เพราะผมไม่ได้รู้จักมันเลย)
ซึ่งมันทำให้ผมอึ้งพอสมควรเพราะไม่คิดว่ามันจะมีพิษสงมากมายขนาดนี้
และไม่รู้สึกแปลกใจแล้วล่ะว่าทำไมจึงมีคนหลายต่อหลายคนให้ความสนใจกับบอร์ดตระกูล
ARM7 ของอีทีที
หลังจากได้บอร์ดเพียงไม่กี่วันเท่านั้นผมก็ได้รับพัสดุจากทางอีทีทีอีกครั้ง
แต่คราวนี้เป็นเอกสารสำหรับอัพเดตบนเว็บ และนั่นก็คือบอร์ด ET-ARM7 Stamp
LPC2138 ที่ผมเพิ่งได้อัพขึ้นไปเมื่อวันที่ ๖ มกราคม ๒๕๔๙
(ทางอีทีทีส่งมาให้ผมเมื่อวันที่ ๕ มกราคม ๒๕๔๙)
เพียงวันเดียวผมก็ได้พบกระทู้รายงานว่าอีทีทีออก LPC2138
ให้เล่นกันแล้วในเว็บบอร์ดด้านอิเล็กทรอนิกส์แห่งหนึ่ง
ความตั้งใจแรกของผมนั้นเดิมทีจะนำบทความนี้อัพขึ้นกับผลิตภัณฑ์ ET-ARM7 Stamp
LPC2138 แต่ก็ปั่นไม่ทันเพราะจากที่ได้อ่าน เอกสารของ ARM7 ในตระกูล LPC2000
ของ Philips ทำให้ผมต้องจับต้นชนปลายพอสมควร
และก็ตัดสินใจว่าบทความแรกนี้จะกล่าวถึงคุณสมบัติของบอร์ด ET-ARM7 Stamp
LPC2138, ET-ARM7 Starter Kit v1, วงจรของ LPC2138 และคุณสมบัติชิพแบบคร่าวๆ
แล้วในตอนต่อไปผมจะลงรายละเอียดกันไปเรื่อยๆ
โดยจะยกมาเขียนเป็นหัวเรื่องละบทความแล้วใช้ภาษาแอสเซมบลีอธิบายการทำงาน
ส่วนโปรแกรมตัวอย่างผมก็จะเขียนด้วยภาษาซี ซึ่งจะเป็น Keil-C แทนการใช้ GCC
เพราะตัวอย่างโปรแกรมของแต่ละบทความไม่น่าจะใหญ่กว่า 16KB
และผมคาดคะเนเอาไว้ว่าคนส่วนใหญ่น่าจะนิยมใช้ Keil-C มากกว่า GCC
เหมือนกับที่คนนิยม Keil-C/51 มากกว่า Micro-C/51 ที่ทำงานได้เหมือนกัน (Micro-C/51
ด้อยกว่าในเรื่อง Editor และประสิทธิภาพของโค้ดที่ได้)
แต่ราคาแตกต่างกันอย่างมาก (อันหนึ่งประมาณ 5000 บาท
แต่อีกตัวหนึ่งอยู่หลักหลายหมื่นบาท)
...
อ่านต่อ
[PDF 1.72MB] ...
|