[ บทความ : Micro-IDE 51 ]

เมื่อหลายเดือนก่อน คุณกอบกิจ เติมผาติ ได้ส่งโปรแกรม Micro-IDE 51 ให้ผมทดลองใช้งาน เพื่อใช้ในการปรับปรุงหนังสือ Micro-C/51 ที่ผมได้เขียนเอาไว้ และพิมพ์ใหม่อีก 2 รอบ จากการตอบคำถามในระหว่างหลายปีที่ผ่านมาพบว่า หลายท่านโดยเฉพาะนักเรียนนักศึกษารุ่นใหม่ๆ แทบจะไม่มีทักษะเกี่ยวกับดอสเหมือนกับรุ่นผม (อายุมากแล้วนี่นา ... ดอสนะดอส.. ฮ่ะๆ) นั้นใช้งานหรือเขียน Batch File กันไม่ได้เลย ประกอบกับ Micro-C/51 ที่ใช้อ้างอิงในหนังสือนั้นก็เป็นรุ่น 2 กว่าๆ ซึ่งเรียกได้ว่าเก่าพอควร แต่อย่างไรก็ดีเรื่องความเก่าใหม่นั้นไม่ใช่ปัญหาใหญ่ครับ ทั้งนี้ปัญหากลับไปอยู่ที่เรื่องของการใช้งาน

การเขียนโปรแกรมด้วย Micro-C/51 ที่ผมเขียนในหนังสือนั้น นอกจากจะต้องกำหนด Environment ของระบบปฏิบัติการแล้ว ยังต้องเขียนโปรแกรมด้วย Editor อื่นแล้วบันทึกเป็นแฟ้ม .c หลังจากนั้นยังจะต้องทำการแปลภาษาด้วยคำสั่งแบบคอมมานด์ไลน์อีกด้วย ทำให้ลำดับการใช้งานนั้นซับซ้อนและหลายขั้นหลายตอนไม่เหมือนกับตัวแปลภาษารุ่นใหม่ๆ อย่าง Keil-C/51 หรือค่ายอื่นๆ ที่ล้วนออกมาเป็น IDE (Integrate Development Environment) ซึ่งนอกจากจะทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์แล้วยังได้รวมเครื่องมือต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นตัว Editor และการแปลคำสั่ง ล้วนทำงานบนวินโดวส์ทั้งสิ้น

จากปัญหานี้จึงมีคนได้พัฒนาส่วนของ IDE ให้กับ Micro-C/51 โดยคิดค่าการพัฒนา IDE กับส่วนช่วยเหลือ (Help) ให้ทำงานบนระบบปฏิบัติการวินโดวส์ พร้อมทั้งทำงานร่วมกับ Micro-C/51 รุ่น 3 (กว่าๆ) ที่เป็นคอมมานด์ไลน์ได้เป็นอย่างดี แถมยังมีรุ่นทดลองใช้งานให้ทดลองใช้อีกด้วย

ความสามารถของรุ่นทดลองใช้งานนั้น ตัว Micro-C/51 จะทำงานได้เหมือนกับ Micro-C/51 รุ่นทดลอง ที่การแปลคำสั่งนั้นมีขีดจำกัดในหลายๆด้าน (จนแทบไม่น่าใช้งานเลยล่ะครับ) และสามารถคีย์โปรแกรมได้ในระดับหนึ่ง (ประมาณ 500 บรรทัด) แต่ถ้าเป็นรุ่นเต็มความสามารถ (ราคาประมาณ 150 US$) จะสามารถทำงานได้เต็มที่เลยล่ะครับ ข้อดีก็คือโปรแกรมตัวอย่างในหนังสือของผมนั้นยังสามารถใช้งานได้ปกติ อาจจะเร็วกว่าอีกต่างหาก ทั้งนี้เป็นเพราะ Micor-C/51 ที่มากับ Micro-IDE 51 นั้นเป็นรุ่นใหม่ ระบบการแปลภาษาและการปรับปรุงประสิทธิภาพการทำงาน (Optimize) จะดีกว่ารุ่นเก่า

                เมื่อเห็นว่ามันดีกว่า แล้วไม่บอกกล่าวทั้งที่ได้ทดลองใช้มานานแล้วก็ดูไม่ดีนัก (จริงป่ะ) เลยต้องเขียนบทความรีวิวกันสักหน่อยให้พอเรียกน้ำย่อย ประกอบกับเป็นการขอบคุณผู้สนับสนุนไปในตัว ...


รูปที่ 1เมนูของ Micro-IDE

                รูปที่ 1 เป็นเมนูหลังจากที่ติดตั้ง Micro-IDE 51 เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ จะเห็นว่ามีแฟ้มช่วยเหลือเกี่ยวกับ Micro-C, ตัว Editor และ Toolkit Configurator ส่วน SDCC ที่เห็นนั้นเป็นตัวแปลภาษา C ที่แจกฟรี (เป็น Open Source) ที่ทำงานได้ดีทีเดียวครับ แต่ติดตรงที่เป็น Open Source นี่ล่ะครับทำให้ไม่ค่อยกล้าใช้งาน ทั้งนี้ผมเป็นโรคกลัว Open Source ครับ คือผมต้องคอยแยกแยะว่างานอะไรที่คิดว่าจะทำแบบไม่สนรายได้ ผมจะเลือก Open Source เป็นตัวแก้ปัญหา แต่งานใดที่สนรายได้เจือปน ผมก็จะหลบ Open Source เอาไว้ (ทั้งที่จริง Open Source ก็เปิดโอกาสให้เราหารายได้นะครับ)

 

... อ่านต่อ Download ...

 


เขียนโดย : ศุภชัย บุศราทิจ
Author : Supachai Budsaratij
วันที่ทำการปรับปรุง : ๓๑ ต.ค. ๒๕๔๗