[ บทความ : พอร์ตขนานและการเชื่อมต่อด้วย Borland Delphi ตอนที่ 2]


1. บทนำ

ในบทความตอนแรกเราได้เรียนรู้เกี่ยวกับพอร์ตขนานกันไปคร่าวๆ พร้อมกับวงจร LPT Port ที่เชื่อมเข้ากับ 8255 และได้เขียนโปรแกรมติดต่อสื่อสารกับพอร์ตเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สำหรับผู้อ่านที่ไม่ต้องการทำบอร์ดเองก็สามารถสั่งซื้อได้โดยตรงกับบริษัทอีทีที (ขอโฆษณาหน่อยนะครับ) ซึ่งวงจรของบอร์ดทดลองนั้นก็จะเหมือนกับวงจรที่ผมได้แสดงไปแล้วเมื่อครั้งก่อน

สำหรับครั้งนี้จุดประสงค์ของบทความของเราก็คือ เขียนโปรแกรมควบคุมไอซี 8255 ให้ทำงานตามโหมดที่เราต้องการ (รายละเอียดของ 8255 ได้กล่าวไปแล้วในบทความตอนแรก) นั่นคือ เราจะสั่งงานพอร์ต A, B, C และพอร์ตควบคุมได้อย่างไร เมื่อสั่งควบคุมพอร์ตได้แล้ว ขั้นตอนต่อไปจะเป็นเรื่องของการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ภายนอก ซึ่งจะเกี่ยวข้องกับวงจรขับหลอด LED และควบคุม 7-Segment ทั้งแบบ 1 หลักและหลายหลัก ซึ่งเป็นพื้นฐานสำหรับบทความตอนหน้าที่เกี่ยวข้องกับการขับวงจรมอเตอร์อีกด้วย

สุดท้ายสิ่งที่เราจะเรียนรู้เพิ่มขึ้นในบทความนี้ก็คือ ทำอย่างไรเราจะตรวจสอบรุ่นของวินโดวส์ได้ว่าเป็น Windows 98/ME/NT/2000/XP/2003 และทำอย่างไรเราจะสามารถเขียนโปรแกรมตัวเดียวแต่ทำงานได้ทั้งบนวินโดวส์หลายรุ่น ซึ่งผู้เขียนหวังว่าบทความในตอนที่ 2 นี้จะมีประโยชน์กับผู้ที่อ่านบทความบ้างไม่มากก็น้อยครับ

2. การควบคุม 8255

จากหัวข้อ 4.2 ในบทความตอนที่ 1 นั้น ทำให้ทราบว่าไอซี 8255 มีพอร์ตให้ใช้งานด้วยกัน 3 พอร์ต คือ PA หรือพอร์ต A, PB หรือพอร์ต B และ PC หรือพอร์ต C ซึ่งแต่ละพอร์ตนั้นจะเป็นพอร์ตขนาด 8 บิต และจะถูกควบคุมการทำงานด้วยการกำหนดค่าให้กับ PCTRL หรือพอร์ตควบคุม (Control Port) ดังนั้น สิ่งแรกที่เราจะต้องทราบก่อนที่จะทำการเขียนโปรแกรมเพื่อรับข้อมูลหรือส่งข้อมูลนั้นควรศึกษาเรื่องการควบคุมการทำงานกันก่อน
 

... อ่านต่อ (ดาวน์โหลด 293KB :: GO ::) ...


 
โปรแกรมตัวอย่าง
1. LAB02-led1.RAR ::: 179KB
2. LAB02-led1.RAR::: 180KB
3. LAB02-led1.RAR ::: 181KB
4. LAB02-7Seg1.RAR ::: 180KB
5. LAB02-7Seg2.RAR ::: 170KB
6. LAB02-7Seg3.RAR::: 188KB

 


เขียนโดย : ศุภชัย บุศราทิจ
Author : Supachai Budsaratij
วันที่ทำการปรับปรุง : ๒๑ ต.ค. ๒๕๔๘