[ บทความ : DnRx051 LAB #2 ติดต่อกับ LED ]

บทความเกี่ยวกับ LAB ของบอร์ด DnRx051 ที่ผมทำเอาไว้ในคราวที่แล้วนั้น เป็นการขับหลอด LED เพียง 1 ดวง [อ่านบทความเก่า] ... ตอนนี้ผมทำบอร์ดทดลองที่เป็น LED8 ดวง เสร็จแล้ว ดังนั้น ในตอนนี้เราจะลองเอาบอร์ด DnRx051 มาขับบอร์ด LED ที่ว่านี้กันดู ... [ อ่านบทความบอร์ด LED 8 ดวง ] ... ซึ่งตัวอย่างโปรแกรมก็จะเป็นดังนี้ครับ ... ส่วนถ้าผู้อ่านไม่เข้าใจว่าเกตุใดจึงไม่สามารถคอมไพล์โปรแกรมได้ ก็สามารถอ่านบทความเกี่ยวกับคำแนะนำด้านการใช้ Micro-C51 ได้ที่นี่ครับ [ GO].

	/*
	 * Filename : dnrLED8.c
	 * Author   : Supachai Budsaratij
	 * e-mail   : raek@se-ed.net
	 * compiler : Micro-C51
	 *            cc51 dnrLED8 -piof m=t
	 * Note     : Test send data to p1.0-p1.7 to DnRLED board.
	 */
	#include <8051io.h>
	#include <8051reg.h>

	delay()
	{
	    int   i,o;
	    for (o=0;o<50;o++) for (i=0; i<255; i++);
	}

	main()
	{
	    P1 = 0x01;
	    while (1) {
	        if (P1 != 0x80) {
	            P1 <<= 1;
	        }
	        else {
	            P1 = 0x01;
	        }
	        delay();
	    }
	}

เมื่อทำการเขียนโปรแกรมแล้วคอมไพล์โปรแกรมเรียบร้อยแล้วก็นำไปโปรแกรมลงตัวชิพได้เลยครับ ... รูปด้านล่างเป็นรูปที่ผมจับภาพมาจาก กล้อง CCD ครับ ... จะเห็นว่า ผมพยายามออกแบบบอร์ดให้สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับบแร์ดอื่นๆ ได้ด้วย เพราะพยายามเน้น เอาไปเสียบบน โปรโตบอร์ดอีกทีหนึ่งนั่นเอง ...

บทความเกี่ยวกับ MCS-51 นี้ค่อนข้างซ้ำไปซ้ำมาอยู่บ้างนะครับ เพราะว่าบทความส่วนหนึ่งจะเป็นบทความที่ใช้กับบอร์ดไมโครคอนโทรลเลอร์ที่ ทางบริษัทต่างๆ (เช่น ET-BOARD V6 ของ ETT) ที่ให้ผมนำมาทดลองใช้ ... ผมเลยต้องตอบแทนด้วยการเขียนบทความถึงบอร์ดเหล่านั้นไปด้วย ... ส่วนบทความของผมจริงๆ นั้น ปกติจะเน้นทำขึ้นมาใช้เอง ครับ ... ซึ่งโดยมากแล้วบอร์ดที่ผมทำขึ้นมาใช้เองก็เป็นเพียงบอร์ดสำหรับทดลอง หรือหัดเขียนโปรแกรมเท่านั้นครับ ความสามารถ เสริมอื่นๆ เช่น การรองรับอุปกรณ์พิเศษ เช่น A-TO-D, D-TO-A , RS-232 พวกนี้ก็จะไม่มีให้เห็นครับ ... แต่คิดว่าผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์ทำขึ้นมาเองได้ง่ายๆ ครับ โดยเฉพาะเจ้า MCS-51 .. เราเพียงแค่เอา MAX232 มาต่อเพิ่มเติมก็สามารถใช้พอร์ตสื่อสารแบบอนุกรมได้แล้ว ... ดังนั้น ถ้าผู้อ่านสนใจนำไปใช้งานแบบหลากหลาย แล้วไม่ค่อยมีเวลาประกอบเอง หรือทำเอง (... บอร์ดที่ผมทำโดยมากจะใช้วิธีเชื่อมด้วยสายไฟครับ ไม่ได้ออกแบบลายวงจร) ก็ลองหาบอร์ดควบคุมที่ชอบมาใช้ก็ได้ครับ ... แต่เวลาศึกษาก็ต้องศึกษาวงจรของบอร์ดนั้นๆ ให้เข้าใจด้วยนะครับ เพราะว่าโดยมากแล้ว บอร์ดแต่ละรุ่น จะออกแบบไม่เหมือนกันทั้งหมด อาจจะมีโน่นแต่ขาดนี่ ... ยิ่งเป็นของต่างบริษัท การออกแบบก็แตกต่างกันไปอีก ...


เขียนโดย : ศุภชัย บุศราทิจ
Author : Supachai Budsaratij
e-mail : raek@se-ed.net
วันที่ทำการปรับปรุง : ๓ ส.ค. ๒๕๔๓.